นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

 นวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรม
            คำว่า นวัตกรรม” มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation  หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
            “นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
     1. E-Learning
         ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพรเลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯเช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือเรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองในความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกันจะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียนผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียนปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
          1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกันหรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
         2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์WebBoard News-group เป็นต้น

         2.ห้องเรียนเสมือนจริง  (Vitual Classroom)
            ห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมในความว่างเปล่า (space) โดยอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นการจัดประสบการณ์เสมือนจริงแก่ผู้เรียน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสนับสนุน อื่น ๆ ที่จะช่วยทำให้การมีปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้า ซึ่ง ี่บางโอกาสอาจจะเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากนั้น สามารถกระทำได้เสมือนบรรยากาศการพบกันจริง ๆ กระบวนการทั้งหมดดังที่กล่าวมานี้ มิใช่เป็นการเดินทางไปที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่จะเป็นการเข้าถึงด้านการพิมพ์ การอ่านข้อความ หรือข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟแวร์ เพื่อควบคุมการสร้างบรรยากาศแบบห้องเรียนเสมือน การมีส่วนร่วมจะเป็นแบบภาวะต่างเวลา ซึ่งทำให้มีผู้เรียน ในระบบห้องเรียนเสมือนสามารถเชื่อมต่อเข้าไปศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา

          3.สื่อหลายมิติ
              สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ  ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์บุช (Vannevar  Bush) เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
              นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุค โลกาภิวัตน์ Globalization  มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
               มี 2 ประเภท
                  1. เทคนิคและวิธีการ
                  2. สิ่งประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์

คุณค่าและประโยชน์ของนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนการสอน
       นวัตกรรมการศึกษามีคุณค่าและประโยชน์ต่อ การจัดการเรียนการสอน สามารถ สรุปได้ดังนี้
            1. ช่วยพัฒนาศักยภาพ และความสามารถสูงสุดของบุคคล
            2. ช่วย ขยายขอบเขตความรู้ และโลกทัศน์ทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            3. ช่วยลดปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
            4. ช่วยเปิดโอกาสทางการเรียนให้กับผู้เรียนอย่างทั่วถึง
            5. ช่วยให้คนสามารถปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
            6. ช่วยให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติม



เทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยี
             "เทคโนโลยี"หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้
                1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)
                2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness)
                3. ประหยัด (Economy)
                4. ปลอดภัย (Safety)
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
              "เทคโนโลยีการศึกษา" หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
               นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
               การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
                 - ปัญหาผู้สอน
                 - ปัญหาผู้เรียน
                 - ปัญหาด้านเนื้อหา
                 - ปัญหาด้านเวลา
                 - ปัญหาเรื่องระยะทาง
                   นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย

 บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา
                 บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
                    1. บทบาทด้านการจัดการ
                    2. บทบาทด้านการพัฒนา
                    3. บทบาทด้านทรัพยากร
                    4. บทบาทด้านผู้เรียน

ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
                 เมื่อกล่าวถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา สามารถแบ่งออกได้เป็นด้านๆดังนี้
                     1 ) ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
              -          ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
              -         ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
              -         ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
              -         ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
              -         ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่
              -         ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
              -         ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
              -         ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
              -         ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
              -         ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
                      2 ) ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
              -         ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
              -         ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
              -         ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
              -         ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
              -         ลดเวลาในการสอนน้อยลง
              -         สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
              -         ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
              -         ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
              -         ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
              -         ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย
                      3 ) ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ดังนี้
              -         สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
              -          ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
              -         สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
              -         ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
              -         ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
              -         สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

ความหมายของนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา
                  เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก รวมทั้งเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการเรียนรู้ต่อผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ

บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
2.  สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.  ให้การศึกษาดีขึ้น          
4.  มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
5.  ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว
6.  ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น
Share on Google Plus

About Neungzsogood

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น