ปรัชญาการศึกษาและความเป็นครู

ความหมายของปรัชญา

คำว่า ปรัชญา ตามพจนานุกรมหมายถึง "วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง" ซึ่งมีผู้น าเอาปรัชญาไปเกี่ยวข้องกับบุคคล เช่น กล่าวว่า ปรัชญาของคนนี้ เป็นอย่างนี้อย่างนั้น ซึ่งความหมายของปรัชญาในลักษณะเช่นนี้จะหมายถึงความคิดเห็นหรือความเชื่อของแต่ละบุคคล โดยแต่ละบุคคลจะมีความเชื่อหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางสังคม ครอบครัว และธรรมชาติของบุคคลผู้นั้นคำว่า “ปรัชญา” จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Philosophy” และมาจากรากศัพท์ในภาษากรีกว่า“Philosophia”ซึ่งประกอบขึ้นมาจากศัพท์ค าว่า “Phileo” แปลว่า “รัก” และ “Sophia” แปลว่า “ภูมิปัญญา” หรือ wisdom ดังนั้นปรัชญาจึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่า “ความรักที่มีต่อภูมิปัญญา” ภูมิปัญญาเป็นเรื่องของกระบวนการคิดที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ภูมิปัญญานี้อาจจะได้มาโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายๆวิธีประกอบกันได้แก่ การสังเกต การจดจำการประเมินค่า การเข้าใจถึงเรื่องจิตใจ และวิญญาณ การเข้าใจถึงธรรมชาติของความเป็นไปและการเรียนรู้ เป็นต้น ดังนั้น หากจะพิจารณาถึงความหมายของปรัชญาในทัศนะของนักวิชาการแล้ว กล่าวได้ว่า “ปรัชญา” คือ “วิธีการคิดอย่างมีระเบียบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นความพยายามที่จะค้นหาความสอดคล้องของแนวความคิด และประสบการณ์ทั้งหมด” (Kneller, 1964 อ้างถึง สงัด อุทรานันท์, 2532)


ปรัชญากับปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาหรือปรัชญาทั่วไปกับปรัชญาการศึกษามีความใกล้ชิดกันมาก ปรัชญาทั่วไปเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความจริง วิธีการค้นหาความจริงและคุณค่าของสิ่งต่างๆในสังคม แต่ปรัชญาการศึกษาเป็นการน าเอาปรัชญาทั่วไปมาประยุกต์เพื่อน าไปจัดการศึกษา ซึ่งการจัดการศึกษาท าไปเพื่อพัฒนาบุคคลพัฒนาสังคมชุมชนให้เกิดความสงบสุข อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น ปรัชญาทั่วไปกับปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก

การที่กล่าวว่าปรัชญากับปรัชญาการศึกษามีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันนั้น อาจพิจารณาได้จากนักปรัชญาและนักการศึกษาที่มีแนวคิดชั้นน าตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันมักเป็นบุคคลคนเดียวกัน เช่น John Locke, Immanuel Kant, Johann Herbart, John Dewey เป็นต้น นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่จุดเริ่มต้นและวิวัฒนาการของปรัชญาและปรัชญาการศึกษาเท่านั้นที่เหมือนกัน แต่ทั้งปรัชญาและปรัชญาการศึกษายังมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันอีกด้วย กล่าวคือ ทั้งปรัชญาและปรัชญาการศึกษาจะสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ธรรมชาติ ความรู้ ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของมนุษย์ และขณะเดียวกันสาขาวิชาทั้งสองต่างก็มีความสนใจร่วมกันในเรื่องที่จะท าให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีสันติและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ลักษณะของปรัชญาการศึกษา
ได้กล่าวมาแล้วว่าปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่ประยุกต์มาจากปรัชญาบริสุทธิ์ ดังนั้นลักษณะของปรัชญาการศึกษาก็จะมีความคล้ายคลึงกับปรัชญาบริสุทธิ์นั่นเอง กล่าวคือ ปรัชญาการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับอภิปรัชญา (Metaphysics) ญาณวิทยา (Epistemology) และคุณวิทยา (Axiology) เช่นเดียวกันปรัชญาทั่วไป

1. อภิปรัชญา (Metaphysics หรือ Ontology) เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอภิปรัชญา ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อหลักความจริงต่างๆ ตัวอย่างเช่น การกล่าวว่า"มนุษย์ศึกษาเพื่อหลักความจริงต่างๆ" สิ่งที่นักศึกษาจะต้องคิดต่อไปก็คือ "ความจริงคืออะไร" ความจริงอาจจะเป็นวัตถุหรือสิ่งที่รับรู้ด้วยการสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ก็ได้ หรือความจริงอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นนามธรรมก็ได้ เช่น ความจริงที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความดี ความถูกต้องดีงาม ค าถามต่างๆ ที่มักถูกใช้ในทางวิทยาศาสตร์ วรรณคดี ก็มักจะเกี่ยวข้องกับอภิปรัชญาอยู่มาก นักการศึกษาผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงอภิปรัชญาดีพอ ก็ย่อมจะเกิดความยากล าบากในการที่จะอธิบายปัญหาต่างๆกับผู้เรียนให้เข้าใจโดยแจ่มแจ้ง

2. ญาณวิทยา (Epistemology) และตรรกวิทยำ (Logic) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาญาณวิทยา (Epistemology) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความจริง ส่วนตรรกวิทยา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ที่มาจากเหตุผล ทั้งญาณวิทยาและตรรกวิทยาจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจปรัชญาในสาขานี้ ก็จะท าให้สามารถจัดการศึกษาหรือวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษาด้วยวิธีการอย่างฉลาด

3. คุณวิทยา (Axiology) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคุณวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณค่า สามารถจ าแนกออกเป็น 2 แขนง คือ สุนทรียศาสตร์ (Aesthetic)และจริยศาสตร์ (Ethics) คำถามหลักของคุณวิทยาคือ "อะไรคือความดี ความงาม" อย่างไรก็ตามนักจริยศาสตร์กับนักการศึกษาต่างก็ไม่ได้สนใจที่จะตั้งระบบจริยธรรมใดๆขึ้นมา แต่ทั้งนักจริยศาสตร์กับนักการศึกษาต่างก็ศึกษาพื้นฐานทางการศึกษาว่า อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว อะไรคือความสวยงาม หรืออะไรคือความน่าเกลียด

ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่ประยุกต์มาจากปรัชญาทั่วไป โดยมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันดังตาราง
ที่ 1

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบปรัชญาทั่วไปและปรัชญาการศึกษา


ปรัชญาการศึกษาในกลุ่มต่างๆมีพื้นฐานจากความเชื่อหรือแนวคิดด้านปรัชญาแตกต่างกันออกไป และเนื่องจากการศึกษาเป็นศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาถึงแนวคิดต่างๆของปรัชญา เพื่อเป็นแนวคิดเพื่อท าความเข้าใจและมองปัญหาต่างๆได้อย่างแจ่มแจ้ง นอกจากนี้ยังจะท าให้เกิดการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆด้านการศึกษาได้อีกต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแนวความคิดของปรัชญาการศึกษากลุ่มต่างๆจะขอกล่าวถึงปรัชญาการศึกษาเฉพาะในส่วนที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนที่ผ่านมาเป็นลำดับดังต่อไปนี้

1.ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism)
ปรัชญาสารัตถนิยม มีลักษณะอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคม ซึ่ง บราเมลต์ ได้เปรียบเทียบการศึกษาแบบนี้ว่า"เป็นแนวทางที่น าไปสู่การอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคม" ซึ่งปรัชญาสารัตถนิยมมีรากฐานมาจาก

ปรัชญา 2 กลุ่มคือ ลัทธิจิตนิยม (Idealism) และลัทธิสัจนิยม (Realism) เนื่องจากปรัชญาทั้ง 2 ลัทธินี้มีความเชื่อพื้นฐานแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจะขอกล่าวถึงปรัชญาสารัตถนิยมโดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มตามรากฐานของ
ปรัชญาดั้งเดิมดังนี้
1.1 ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวของลัทธิจิตนิยม
นโยบายทางสังคม ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวของลัทธิจิตนิยมถือว่า บุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นเครื่องมือของสังคม ดังนั้นบุคคลจะต้องอุทิศตนเพื่อสังคมที่ตนเองอาศัย นอกจากนั้นยังมีความเห็นว่าสิ่งที่ส าคัญที่สุดซึ่งสังคมจะต้องกระท าคือ การสะสมมรดกของสังคมไว้ให้คนรุ่นต่อไป และสืบทอดวัฒนธรรมในสังคมให้คงอยู่ต่อไป


ดังนั้น เป้าหมายทางการศึกษาตามความเชื่อดังกล่าว ตามทัศนะของนักปรัชญากลุ่มนี้ จึงมีความเห็นว่าโรงเรียนจะต้องพัฒนาคุณธรรม รักษาไว้และถ่ายทอดซึ่งคุณธรรมของสังคมในอดีตให้คงอยู่ตลอดไปยังบุคคลรุ่นต่อๆไป ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่สังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เป็นความจริง หรือเป็นสิ่งที่ดีงามแล้ว โรงเรียนหรือสถานศึกษาจะต้องถ่ายทอดสิ่งนั้นไปสู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป
1.2 ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวของลัทธิสัจนิยม
นโยบายทางสังคม ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวลัทธิสัจนิยม ได้ก าหนดนโยบายทางสังคมในลักษณะใกล้เคียงกับลัทธิจิตนิยมซึ่งเน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันเป็นมรดกของสังคมเช่นเดียวกัน แต่มรดกทางสังคมในทัศนะของนักปรัชญากลุ่มนี้จะหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ควรมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1)เพื่อค้นหาความจริงต่างๆที่มีอยู่ 2) เพื่อขยายความจริงและผสมผสานความจริงที่ได้รู้แล้ว 3) เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับชีวิตโดยทั่วไป และเกี่ยวกับหน้าที่ในอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความจริงที่มีทฤษฎีสนับสนุน 4) เพื่อท าการถ่ายทอดสิ่งต่างๆที่แจ้งชัดอยู่แล้วให้คนรุ่นหนุ่มสาวและคนชรา


โดยสรุปแล้ว กลุ่มปรัชญาสารัตถนิยม เน้นการถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหลักเป็นแก่นของสังคมในด้านความรู้ที่เป็นพื้นฐานเป็นหลัก ส่วนด้านทักษะก็เน้นทักษะที่จ าเป็นในการแสวงหาความรู้เพื่อการด ารงชีวิตการจัดการเรียนการสอนเน้นการรับหรือปฏิบัติตามระเบียบวินัยซึ่งได้ก าหนดไว้อย่างเข้มงวดกวดขันไม่ใช่เลือกเรียนอะไรง่ายๆ ความเจริญก้าวหน้าหรือความคิดริเริ่มขึ้นกับครูผู้สอนจะเป็นผู้จัดหามาให้ ครูเป็นแบบอย่างฉะนั้นครูต้องได้รับการฝึกฝนอบรมมาอย่างดี เน้นให้ผู้เรียนรับรู้และการจำ


2. ปรัชญานิรันตรนิยม (Perenialism)
ปรัชญานิรันตรนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาที่ประยุกต์มาจากปรัชญาบริสุทธิ์ลัทธิ Neo-Thomism ซึ่งมีแนวความเชื่อว่า "ความจริงและความดีสูงสุดย่อมไม่เปลี่ยนแปลง หรือเป็นสิ่งที่เรียกว่า อมตะ" โดยเฉพาะเรื่องของความรู้ค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดี ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งหนใดก็เป็นสิ่งที่ดีเสมอไม่ว่าเวลาจะเปลี่ยนไปปรัชญานิรันตรนิยมจะมีแนวความคิดพื้นฐานดังนี้

นโยบายสังคม ปรัชญานิรันตรนิยมได้เน้นความส าคัญของความคงที่หรือความไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในทัศนะของนักปรัชญากลุ่มนี้จึงถือว่า ความจริงหรือความรู้ในอดีตย่อมสามารถน ามาใช้ได้ในปัจจุบัน และถือว่าศีลธรรมและความรู้ต่างๆ มาจากวัดและมหาวิทยาลัย ส าหรับโรงเรียนที่ต่ ากว่าระดับอุดมศึกษาจะมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมน้อยมาก

จุดมุ่งหมายทางการศึกษา จุดมุ่งหมายสูงสุดของการศึกษาที่จัดส าหรับคนทุกคนในสังคม และทุกยุคทุกสมัยจะมีความเหมือนกัน นั่นก็คือจะเป็นการพัฒนาสติปัญญาและความสามารถของคนในสูงขึ้นโดยสรุปแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับปรัชญากลุ่มสารัตถนิยแล้ว ปรัชญากลุ่มนิรันตรนิยม เน้นหนักไปทางด้านการพัฒนาปัญญา การใช้เหตุผล โดยยึดความรู้ที่ได้รับการยอมรับแล้วมากกว่าแนวความรู้ใหม่ๆ จึงมักถูกมองว่าอยู่ในกลุ่มพวกหัวสูงกลุ่มพวกนักปราชญ์ จนลืมไปว่าผู้เรียนกลุ่มปัญญาปานกลางและต่ าก็สามารถเป็นพลเมืองดีและสามารถท าประโยชน์ให้กับสังคมได้เช่นกัน


3. ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism)
ปรัชญาพิพัฒนนิยม เป็นปรัชญาที่ประยุกต์มาจากปรัชญาบริสุทธิ์กลุ่มปฏิบัตินิยม พิพัฒนนิยมหมายถึง การนิยมหาความรู้อย่างมีอิสระภาพ มีเสรีภาพในการเรียน การค้นคว้า การทดลอง เพื่อพัฒนาประสบการณ์และความรู้อยู่เสมออย่างไม่หยุดนิ่ง แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนนิยมมีดังนี้
นโยบายทางสังคม นักปรัชญาการศึกษากลุ่มพิพัฒนานิยมจะถือว่าโรงเรียน เป็นเครื่องมือของสังคมที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของสังคมให้ไปสู่อนุชนรุ่นหลัง โรงเรียนที่ดีควรจะต้องสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งต่างๆซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม และควรจะน านักเรียนไปสู่ความสุขในชีวิตของมนุษย์ในอนาคต การดำเนินการต่างๆ ตามปรัชญาการศึกษากลุ่มนี้จะเน้นวิธีการประชาธิปไตย

เป้าหมายการศึกษา นักปรัชญากลุ่มพิพัฒนานิยมมีความเห็นว่าเป้าหมายที่ส าคัญที่สุดของการศึกษาก็คือการสร้างสถานการณ์ที่จะสร้างความก้าวหน้าให้แก่ผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ และถือว่าโรงเรียนเป็นสถาบันที่จะต้องมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ดีขึ้น


4.ปรัชญำปฏิรูปนิยม (Resonstructionism)
ปรัชญาปฏิรูปนิยม มีรากฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เช่นเดียวกับปรัชญาพิพัฒนนิยม และโดยทั่วไปถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนนิยม บิดาของปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมนี้ คือ Theodor Brameld
นโยบายทางสังคม กลุ่มปฏิรูปนิยมมีความเชื่อว่า การศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือโดยตรงส าหรับการเปลี่ยนแปลงสังคม ในภาวะที่สังคมก าลังเผชิญปัญหาต่างๆอยู่นั้น การศึกษาควรจะมีบทบาทในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น


เป้าหมายการศึกษา การศึกษาควรจะมุ่งให้ผู้เรียนสนใจและตระหนักในตนเอง สร้างความรู้สึกว่าผู้เรียนเป็นสมาชิกของสังคม และสามารถปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้นได้แนวคิดการศึกษากลุ่มปรัชญาปฏิรูปนิยม มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปสังคม ไปสู่สังคมใหม่ที่มีประชาธิปไตย มีความทัดเทียมของบุคคลในสังคม และเป็นสังคมที่มาจากประชาชนโดยแท้จริงมิใช่สังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การศึกษาจึงมุ่งฝึกให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการคิด ยึดหยุ่นมีหลักในการท างาน เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคมที่ตนอาศัย ผู้สอนต้องไม่ทะนงว่าเป็นผู้รู้และเก่งผู้เดียวแต่ต้องพยายามประคับประคองและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ท ากิจกรรมตามที่มุ่งหมาย


แนวความคิดใหม่ทางปรัชญาการศึกษา
ในปัจจุบันได้มีแนวความคิดใหม่ทางปรัชญา 2 แนวคือ ปรัชญาภาวะมีนิยม (Existentialism) และปรัชญาวิเคราะห์ (Philosophical Analysi) ซึ่งปรัชญาทั้ง 2 กลุ่มนี้ ได้สะท้อนให้เห็นจากการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ในบางแห่ง อย่างไรก็ตามแนวความคิดใหม่นี้ยังไม่ได้ยอมรับกันเป็นที่แพร่หลาย และอาจจะถือว่าเป็นความคิดที่เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกในการจัดการศึกษามากกว่าที่น ามาใช้กับการจัดการศึกษาโดยทั่วไป ดังจะได้อธิบายแนวความคิดทั้ง 2 กลุ่มนี้พอสังเขปต่อไปนี้
10
5. ปรัชญำกำรศึกษำกลุ่มภำวะนิยม (Existentialism)
Existentia มีความหมายว่า ความมีอยู่ หรือเป็นแก่นแท้ของความจริง ซึ่งเน้นการมีอยู่ของมนุษย์แต่ละคนซึ่งมีวิ่งแวดล้อมและสภาพของตนเอง ปรัชญาการศึกษากลุ่มภาวะนิยม เป็นแนวความคิดที่เน้นความพึงพอใจของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ให้ความส าคัญกับเสรีภาพ และความเป็นตัวของตัวเองของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์แต่ละคนที่จะเลือกอย่างเสรี สร้างลักษณะของตนเองตามแบบอย่างตนเองปรารถนา การที่มนุษย์จะกระท าเช่นนั้นได้จ าเป็นต้องมีเสรีภาพเป็นส าคัญ โดยจะเป็นเสรีภาพในการเลือกและตัดสินใจ ซึ่งเสรีภาพต้องควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่มีผลต่อตนเองและผู้อื่นด้วยนโยบายสังคม กลุ่มภาวะนิยมมีความเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาบนโลกพร้อมกับความว่างเปล่าไม่มีสาระอะไรติดมา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของตัวมนุษย์เองที่จะต้องพยายามค้นหาตัวเอง และเลือกสร้างลักษณะของตนเองที่ตนอยากจะเป็น อาทิ เป็นครู แพทย์ วิศวกร ชาวนา ผู้เสียสละ เป็นต้น ในการเลือกบุคคลมีสิทธิเสรีภาพปราศจากเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ของสังคมบีบบังคับเป้าหมายการศึกษา มุ่งให้ผู้เรียนได้ค้นพบและรู้จักตนเอง โดยการทบทวน พิจารณาใคร่ครวญและตรวจสอบตนเองอยู่เสมอๆ เพื่อให้เกิดส านึกที่ถูกต้อง การศึกษาช่วยให้ผู้เรียนรู้ศักยภาพของตนเอง


6.ลัทธิปรัชญำวิเครำะห์ (Philosophical Analysis)
ปรัชญาวิเคราะห์มีชื่อเรียกอย่างอื่นคือ Analytic Philosophy, Scientific Empiricism ปรัชญากลุ่มนี้เป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งเน้นวิธีการวิทยาศาสตร์ ให้ความส าคัญแก่ข้อมูลทั้งหมด และจะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์ หรือตรวจสอบภาษาด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นปรัชญากลุ่มนี้จึงเกี่ยวข้องกับญาณวิทยามากกว่าอภิปรัชญา และคุณวิทยาปรัชญาวิเคราะห์จะอาศัยหลักการของอภิปรัชญาและคุณวิทยามาเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ในแต่ละเรื่องเท่านั้นเอง


เมื่อนำเอาปรัชญามาวิเคราะห์มาใช้กับการศึกษาก็จะพบว่าส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความคิดรวบยอดทางการศึกษา ข้อถกเถียง ข้อความโฆษณาชวนเชื่อ และข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น การพยายามจะอธิบายว่าการสอนคืออะไร การสอนแตกต่างจากการอบรมอย่างไร และการสอนต่างจากการเรียนอย่างไร หรือการที่จะพยายามพิจารณา


ความสัมพันธ์ของปรัชญาการศึกษากับการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการจัดการศึกษา ดังนั้นปรัชญาการศึกษาจึงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาหลักสูตรโดยตรง สังคมใดที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาในลักษณะใดลักษณะหนึ่งแนวคิดอันนั้นก็จะสะท้อนให้เห็นได้จากการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ซึ่งพิจารณาได้จากแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามลัทธิปรัชญาการศึกษาดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นอาจกล่าวไดว่าปรัชญาการศึกษาเป็นรากฐานที่ส าคัญหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตร 
พอสรุปได้ดังนี้
1) ในส่วนอภิปรัชญา จะเป็นรากฐานของการก าหนดเป้าหมายการศึกษา โดยเหตุนี้ความส าเร็จหรือความล้มเหลวทางการศึกษาจึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจในเรื่องอภิปรัชญาอยู่เป็นอันมาก ถ้านักพัฒนาหลักสูตรมีความเข้าใจในอภิปรัชญาดีก็ย่อมจะสามารถตั้งจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม
2) ในส่วนของญาณวิทยา และตรรกวิทยา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาความรู้ มักมีอิทธิพลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นส่วนของการน าหลักสูตรไปใช้ กล่าวคือ การที่พยายามแสวงหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้การเรียนการสอนบังเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดนั้น ถือได้ว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับญาณวิทยาและตรรกวิทยาโดยตรง
3) ในส่วนของคุณวิทยานั้น นักพัฒนาหลักสูตรจ าเป็นจะต้องมีความเข้าใจในสังคมที่อยู่นั้นมีอะไรดี
อะไรงาม สิ่งไหนดี สิ่งไหนเลว ฯลฯ ถ้านักพัฒนาหลักสูตรมีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณวิทยาดีแล้ว ก็ย่อมสามารถจะเลือกสรรหรือกำหนดเนื้อหาสาระที่เหมาะสมไว้ในหลักสูตรต่อไป

ปรัชญาการศึกษากับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย
ธรรมชาติของศาสตร์ทางการศึกษานั้น กล่าวได้ว่า การศึกษาเป็นศาสตร์ประยุกต์ (applied science)ดังนั้นแนวคิดตลอดจนวิธีการจัดการศึกษาจึงได้น าเอาความรู้ต่างๆที่ได้จากศาสตร์สาขาต่างๆมาเป็นแนวทางในการด าเนินการจัดการศึกษา โดยศาสตร์ทางการศึกษาจะพยายามเลือกสรรเอาเฉพาะสิ่งที่มีความส าคัญและจำเป็นหรือสามารถน าไปปฏิบัติได้ มากเป็นส่วนประกอบในการจัดการศึกษา วิธีการเลือกสรรสิ่งต่างๆจะครอบคลุมไปถึงการเลือกสรรศาสตร์ต่างๆ ในระดับสาขาวิชา และเลือกสรรเนื้อหาสาระในระดับย่อยซึ่งอยู่ภายในแต่ละสาขาวิชาอีกด้วยในเรื่องปรัชญาการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากปรัชญาแต่ละลัทธิจะมีทั้งข้อดีและข้อจ ากัดในแต่ละสังคมกล่าวอีกนัยหนึ่งคือจะเป็นข้อจ ากัดอย่างยิ่งถ้าจะน าเอาปรัชญาลัทธิใดลัทธิหนึ่งมาใช้กับสังคมไทยโดยตรง การจัดการศึกษาของไทยในอดีต ระหว่างปี พ.ศ.2411-2547 อาจกล่าวได้ว่า เป็นไปตามแนวสารัตถนิยม (วิทย์ วิศทเวทย์ อ้างถึงในสงัด อุทรานันท์, 2532) แต่ในปัจจุบันอาจเป็นการยากที่จะบอกว่าปรัชญาการศึกษาในหลักสูตรไทยเป็นไปตามลัทธิปรัชญาใด ซึ่งอาจจะบอกได้เพียงแต่ว่าโดยส่วนใหญ่นั้น มีความสอดคล้องกับลัทธิใดหรือปรัชญาใดมากที่สุดเท่านั้น ตัวอย่างเช่น อาจบอกได้เพียงว่าหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 นั้น มีความสอดคล้องกับลัทธิปรัชญาแบบสารัตถนิยม มากที่สุด หรือหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 นั้นมีความสอดคล้องกับปรัชญาลัทธิปฏิรูปนิยมมากที่สุด ที่กล่าวหลักสูตรของไทยมีความสอดคล้องกับลัทธิปรัชญาแบบนั้นแบบนี้มากที่สุดนั้น เป็นเพียงการกล่าวว่าส่วนใหญ่เท่านั้น แนวคิดในการจัด
การศึกษาค่อนข้องไปในลัทธิปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแนวคิดของปรัชญาลัทธินั้นๆทั้งหมด ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่า นอกจากจะมีแนวคิดตามปรัชญานั้นๆแล้วยังมีความคิดจากปรัชญาลัทธิอื่นๆผสมผสานอยู่ด้วย ปรัชญาลัทธิอื่นๆผสมผสานอยู่ด้วย ปรัชญาที่เกิดจากการผสมผสานแนวความคิดของปรัชญาอื่นๆอยู่ มีชื่อเฉพาะว่า "ปรัชญาแบบผสมผสาน (Eclecticism)" โดยลักษณะเช่นนี้
จึงกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า หลักสูตรประถมศึกษาของไทยเป็นไปตามลัทธิปรัชญาแบบผสมผสานก็ได้ ซึ่งแนวคิดปรัชญาแบบนี้จะท าการเลือกสรรเอาส่วนที่เห็นว่ามีความเหมาะสมจากปรัชญาลัทธิต่างๆมาผสมผสานกันโดยไม่ยึดลักทธิใดลัทธิหนึ่งโดยตรง


คุณธรรมสำหรับครู และลักษณะครูที่ดี
ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู
ในความหมายของปรัชญาจัดว่าเป็นแนวอุดมคติในการดำเนินงานใด ๆ โดยใช้ปัญญา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ เมื่อบุคคลได้เกิดความสนใจและใฝ่หาความรู้จากวิชาปรัชญาก็ย่อมได้รับอัตถประโยชน์อย่างมากมาย พอสรุปได้ดังนี้
1. ปรัชญาสอนให้รู้จักความจริงอันสิ้นสุด เช่น พระเจ้ามีจริงหรือไม่
2. ปรัชญาสอนให้รู้จักทฤษฎีแห่งความรู้ เช่น การวิจัยจะนำไปสู่การค้นหาคำตอบได้
3. ปรัชญาสอนให้รู้จักความดีและความถูกต้อง เช่น การทำประโยชน์ให้แก่สังคมถือว่า เป็นความดี
4. ปรัชญาสอนให้รู้จักความงาม เช่น การประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของสังคม อันก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเป็นสุขใจ
5. ปรัชญาสอนให้เกิดอุดมคติในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่การงาน เช่น สอนให้ บุคคลเป็นครูในอุดมคติ หรือเป็นครูที่มีอุดมการณ์ที่จะช่วยพัฒนาชนบทอย่างแท้จริง
6. ปรัชญาสอนให้รู้จักประเมินคุณค่าในพฤติกรรมของบุคคลว่าถูกต้องและเหมาะสม หรือไม่
ดังได้กล่าวแล้วว่า ปรัชญาเป็นแนวอุดมคติในการดำเนินงานใด ๆ โดยใช้ปัญญาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้ สำหรับคุณธรรมคุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทำความดี หรือเป็นพฤติกรรมที่ดีซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม

ดังนั้น คุณธรรมสำหรับครู ก็คือคุณงามความดีของบุคคลที่เป็นครู ซึ่งได้กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทำความดี หรือเป็นพฤติกรรมทีดีซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น ครูที่มีความเสียสละ ครูที่มีน้ำใจงาม ครูที่มีความเกรงใจ ครูที่มีความยุติธรรม ครูที่รักเด็กและรักเพื่อนมนุษย์ ครูที่มีความเห็นอกเห็นใจลูกศิษย์ และครูที่มีมารยาทที่งดงามถือว่าเป็นครูที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น

โดยหลักการ ครูจะต้องเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีล เพราะสังคมได้ยกย่องให้ครูเป็นปูชนียบุคคลเป็นผู้ประเสริฐและประสาทความรู้ สร้างความเป็นคนและอบรมสั่งสอนเด็กให้เป็นเด็กที่ดีของสังคม ความเป็นที่จะต้องให้ครูเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีลดังกล่าวแล้วชี้ให้เห็นว่า ความเป็นนักปราชญ์ของครูนั้น ครูจะต้องมีความดีและถ่ายทอดดี สอนให้เด็กได้รับความรู้และสนุกมีชีวิตชีวา ส่วนความเป็นผู้ทรงศีลของครู ในฐานะที่ครูเป็นแม่แบบของชาติหรือเป็นต้นแบบในพฤติกรรมทั้งปวง จะช่วยให้ครูเป็นคนดี วางตัวดี เป็นที่เคารพและเป็นที่น่าเชื่อฟังของลูกศิษย์ จึงกล่าวได้ว่า ครูต้องมีคุณธรรม หรือคุณธรรมสำหรับครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าครูจำเป็นต้องมีคุณธรรม แต่คุณธรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอครูต้องเป็นนักปรัชญาด้วย การเป็นนักปราชญ์ของครูจะช่วยให้ครูมีความรู้รอบ และรอบรู้ มีทัศนะกว้างไกลและลึก มองเห็นชีวิตของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างทะลุปุโปร่ง และช่วงมองอนาคตของเด็กให้ทะลุปุโปร่งด้วย เพื่อจะได้ประคับประคองสนับสนุน และส่งเสริมให้เด็กเจริญก้าวหน้าอย่างเต็มที่

จึงสรุปได้ว่าปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นครูเปรียบเสมือนกับโลหะธาตุที่มีเนื้อธาตุดี ย่อมเป็นโลหะที่ดี เช่นเดียวกันถ้าครูมีปรัชญาและคุณธรรมก็จะได้รับความยกย่องว่า เป็นครูดีของสังคมได้ (สงวน สุทธิ์เลิศอรุณ 2536:20–21)

หลักคุณธรรมสำหรับครู
ผู้บริหารการศึกษา ครูอาจารย์ อยู่ในฐานะที่เป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน นักศึกษา การที่ศิษย์จะเคารพนับถือและมีความศรัทธาต่อครูอาจารย์ของตนนั้น ครูอาจารย์ต้องมีคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญ คุณธรรม 4 ประการ

ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี
ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความเชื่อ และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้มีความเจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว และจะช่วยใช้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังความประสงค์ ครู อาจารย์เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ควรถือปฏิบัติตามหลักคุณธรรมดังกล่าวเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ สถาบันวิชาชีพครูจะได้มีความเจริญก้าวหน้า สังคมและประเทศไทยจะได้มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

นอกจากหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว ผู้บริหาร ครู อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษา ยังต้องประพฤติและปฏิบัติตามหัวข้อธรรมดังกล่าว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และนักเรียน อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ การเรียนการสอนก็จะต้องจัดตามความมุ่งหมายของรัฐ
การศึกษาตามนัยแห่งแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันตลอดชีวิต เพื่อมุ่งสร้างเสริมคุณภาพของพลเมืองให้สามารถดำรงชีวิตและทำประโยชน์แก่สังคม โดยเน้นการศึกษาเองสร้างเสริมความอยู่รอดปลอดภัย ความมั่นคงและความผาสุกร่วมกันในสังคมไทยเป็นประการสำคัญ จึงได้กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาไว้ 9 ข้อ

ความมุ่งหมายของการศึกษา 9 ข้อ เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่ดีงามของบุคคล เพื่อสร้างเสริมคุณภาพของพลเมือง ซึ่งอาจสรุปเป็น คุณลักษณะของคนไทยที่มีความจำเป็นจะต้องปลูกฝังให้ถึงพร้อมในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้

คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว

2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์

3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม

4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม

5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน

6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด

7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง

8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ

10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์

คุณลักษณะ 10 ประการนี้ เป็นทั้งแนวทางและเป้าหมายในการจัดการศึกษาและอบรมสั่งสอนนักเรียน ของสถานศึกษาทุกระดับและเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษาต้องถือปฏิบัติด้วยเช่นกันผู้บริหารการศึกษาคือผู้ที่เป็นหัวหน้าสถานศึกษา คือ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการ และรวมไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย หรือรองของตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดการและพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้บริหารการศึกษาเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้วางแผนการต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนทั้งหลายได้รู้จักและเข้าใจในหลักจริยธรรม ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาในระดับใดดังนั้นผู้บริหารจึงมีคุณธรรมและจริยธรรมตามที่กำหนดไว้สำหรับอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาครบทุกข้อโดยเฉพาะคุณธรรมและจริยธรรมเป็นธรรมที่ผู้บริหารทุกคนจะต้องปฏิบัติและตระหนักอยู่ในใจเสมอ คือ


1. การมีความละอายในการทำความชั่ว ทำความทุจริตทั้งปวงและเกรงกลัวและสะดุ้งกลัวต่อความชั่วทั้งปวง ซึ่งคุณธรรมข้อนี้ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่เดือดร้อนวุ่นวาย

2. การมีความอดทน รู้จักอดกลั้นต่อแความยากต่าง ๆ ที่คนอื่นมีต่อตนและมีความสงบเสงี่ยม และความอ่อนน้อมถ่อมตน

3. มีสติสัมปชัญญะเต็มเป็นอยู่ตลอดเวลา รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนสม่ำเสมอ ไม่มีการลืมตัวหรือละเลยต่อหน้าที่ต่าง ๆ

4. รู้จักอุปการะ คือ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น นึกถึงประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง พร้อมที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้อื่น ในงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน ไม่มีอคติในการปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานต่อศิษย์ หรือ นักเรียนและบุคคลอื่น ๆ

5. มีคุณธรรมประจำตน ในการที่ทำการงานในหน้าที่ของตนให้สำเร็จ(อิทธิบาท) 4 ประการมีความพอใจและเอาใจใส่ในหน้าที่การงานของตน มีความพากเพียรในการประกอบการงาน เอาใจใส่ในการงานไม่ทอดทิ้งและหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลและวิธีที่จะทำให้การงานเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ

6. มีคุณสมบัติอันประเสริฐ (พรหมวิหาร) 4 ประการ คือ มีความเมตตา ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข มีความกรุณา สงสาร คิดหาทางให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ มีมุทิตาปราบปลื้มยินดีในความสำเร็จ ความก้าวหน้าของผู้อื่นและมีอุเปกขา ความวางเฉย เห็นอกเห็นใจผู้ได้รับความทุกข์

7. มีคุณธรรมที่เป็นเครื่องผูกน้ำใจผู้อื่นและบุคคลทั่วไป(สังคหวัตถุ) ๔ ประการอยู่เป็นการประจำ คือ ให้ปันสิ่งของแก่บุคคลที่ควรให้ปัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อ แผ่แก่ผู้อื่นตามสมควรแก่กรณี(ทาน) มีวาจาอ่อนหวาน สุภาพเรียบร้อย(ปิยวาจา) ประพฤติตนเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นและเป็นคนไม่ถือตัวไม่ถือยศศักดิ์ เข้ากันได้กับผู้ร่วมงานทุกคน ตามความเหมาะสมตามฐานะของตน (สมานัตตา)

8. หมั่นศึกษาหาความรู้รอบตัว ให้มีความรอบรู้ เพื่อเป็นผู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ บุคคลและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน้าที่การงาน(พาหุสัจจะ)

9. ประพฤติตนให้ห่างจากอบายมุขหรือทางแห่งความเสื่อมต่าง ๆ ไม่กระทำตนให้เป็นผู้เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น ผู้ร่วมงาน หรือนักเรียน นักศึกษาทุกคน และบุคคลทั่วไป (ชำเลือง วุฒิจันทร์; 2524 น. 117–119)

กรรมการฝึกหัดครู (กระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครู 2515 : 14–15)ได้กำหนดเกี่ยวกับสมรรถภาพในการเป็นครูว่าครูที่มีสมรรถภาพสูงนั้นควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ทำการสอนให้เป็นอย่างดี
2. สามารถทำการอบรม แนะแนว และปกครองได้เป็นอย่างดี
3. ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
4. สร้างสัมพันธภาพได้เป็นอย่างดีและร่วมมือกับชุมชน
5. เป็นครูชั้นอาชีพโดยรู้จัก
   5.1 เพิ่มพูนความรู้ให้แก่อาชีพอยู่เสมอ
   5.2 เป็นสมาชิกที่ดีของทางวิชาการ
   5.3 ยึดถือแบบธรรมเนียมของผู้เป็นครู
   5.4 ช่วยเหลือแนะนำครูใหม่

สาโรจ บัวศรี  ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการเป็นครูที่ดีในด้านสมรรถภาพว่าต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

1. สามารถทำการสอนได้เป็นอย่างดี โดยรู้จัก
   1.1 ใช้หลักจิตวิทยาแห่งการเรียน
   1.2 ใช้หลักการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก
   1.3 ทำบรรยากาศที่เหมาะสมที่จะเกิดการเรียนรู้
   1.4 วางแผนสำหรับการสอนอย่างถี่ถ้วน
   1.5 ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
   1.6 ใช้แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อวัดผลการเรียนวิเคราะห์แก้ไขและรู้จักวัดผลโดยทั่วไป
   1.7 ปกครองชั้นและบริหารงานต่าง ๆ ของชั้นได้อย่างเรียบร้อยและราบรื่น ทำงานธุรการของโรงเรียนได้

2.สามารถอบรมแนะแนว และปกครองได้เป็นอย่างดี โดยรู้จัก
1.หลักการที่ว่า ถ้าทุกคนสร้างคุณธรรมและหลักธรรมต่าง ๆ ไว้ประจำตัวได้แล้ว
2.ใช้หลักการและวิธีการของการแนะแนว
3.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบิดามารดาและผู้ปกครอง
4.ใช้ผลของการวิจัย และผลของการทดสอบต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในการอบรม

3.สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี โดยรู้จัก
1. ร่วมในการวางแผนจัดการ กิจกรรมในหลักสูตร หรือกิจกรรมร่วมหลักสูตรชนิดต่าง ๆ
2. รับหน้าที่และภาวะในการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นตามแผน
3. รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงานทั้งปวงของโรงเรียน

4.สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีและร่วมมือกับชุมชนเป็นอย่างดี โดยรู้จัก
1.ช่วยเหลือชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
2.ทำให้ชุมชนเข้าใจโรงเรียน และสนับสนุนในทางที่เหมาะสม
3.หาความร่วมมือจากมารดาบิดาของผู้ปกครอง
4.หาบุคคลอื่น และสิ่งต่าง ๆ ในชุมชนที่เป็นประโยชน์ในการสอน
5.ร่วมมือกับทางราชการปรับปรุงชุมนุมชน

5.สามารถเป็นครูชั้นอาชีพ โดยรู้จัก
1.เพิ่มพูนความรู้ให้แก่อาชีพครู โดยการเขียน การพูด การค้นคว้า การวิจัยการเป็นสมาชิก ที่ดีของสมาคม หรือสถาบันทางการศึกษา
2.ยึดถือขนบธรรมเนียมของผู้เป็นครู และช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อนครู
3.ส่งเสริมตัวเองให้งอกงามในทางวิชาการ ศึกษาอยู่เสมอ
4.ช่วยเหลือแนะนำผู้ที่เข้ามาเป็นครูใหม่ในโรงเรียนของตน

ธนู แสวงศักดิ์  มีความเห็นว่าลักษณะของครูที่ดีนั้นควรมี 5 ประการ ดังนี้

1. มีความสัมพันธ์กับนักเรียนดี คือ ครูจะต้องสนใจ เอาใจใส่ต่อปัญหาของนักเรียน คอยตอบปัญหาให้กระจ่าง แนะแนว รู้จักระงับอารมณ์ อดทน วางตัวเหมาะสม ไม่สนิทสนมกับเด็กมากเกินไปไม่ทำให้ขายหน้า รู้จักเปิดโอกาสให้นักเรียนประเมินผลการสอน และให้กำลังใจให้นักเรียนอย่างมีเหตุผล

2. มีความรักในอาชีพครู มีส่วนช่วยแนะนำเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอยู่เสมอ ทันสมัยต่อความรู้และกิจกรรมของครู

3.ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ มีความสามารถในอาชีพ

4. มีจรรยาครู ไม่แพร่ข่าวลือ ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ ไม่ขโมยผลงานของคนอื่น ไม่ให้ร้ายผู้อื่น มีมารยาทในการติดต่อสายงานทางด้านราชการไม่นำผู้อื่นมาพูดให้นักเรียนฟัง

5. มีคุณสมบัติส่วนตัวดี มีสติปัญญาดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่ม มีความกระตือรือร้น เป็นกันเองกับนักเรียน

6. มีรูปร่างท่าทางดี มีใบหน้าสะอาด ตัดผมเรียบร้อยสุภาพ เสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อย และเหมาะกับกาละเทศะ รักษาท่าทางให้สง่างาม ไม่สูบบุหรี่ หรือรับประทานอะไรระหว่างที่ทำการสอนอยู่

คุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีจากผลการวิจัยฝ่ายโครงการของวิทยาลัยครูบ้านเจ้าพระยา ได้ทำการวิจัยเรื่องลักษณะของครูที่สังคมต้องการ โดยนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในเขตกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้สรุปผล ดังนี้

1. ด้านความประพฤติควรมีความประพฤติที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ และสังคม

2. ด้านความรู้ทางด้านวิชาการ ควรมีความรู้กว้างขวางนอกเหนือไปจากความรู้เฉพาะ

3. ด้านการสอนต้องรู้จักพัฒนาปรับปรุงการสอนของตนให้ได้ผลดี

4. ด้านการปกครองนักเรียน ควรฝึกนักเรียนให้มีวินัยควบคู่ไปกับการอบรมทางศีลธรรม

5. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ของครู ครูควรสร้างความเข้าใจและคุณความดีของสังคม

6. ด้านบุคลิกภาพของครู ครูควรแต่งกายเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง มีเสียงพูดชัดเจน และมีลักษณะของความเป็นผู้นำ

7. ด้านการทำงานนอกเวลา และงานอดิเรกของครู เห็นว่าครูควรทำได้ไม่กฎหมาย หรือขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

ผลงานการวิจัยของ เฉลียว บุรีภัคดี เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดีโดยการรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้บริหาร พระ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนทั้งสิ้น 7,762 คน มี ดังนี้

ครูที่ไม่ชอบมากที่สุด เรียงจากมากไปหาน้อย มี ดังนี้

1.ขาดความรับผิดชอบ
2.การเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ขาดความยุติธรรม
4.เห็นแก่ตัว
5.ประจบสอพอ

ครูที่ชอบมากที่สุด มี ดังนี้
1.ตั้งใจสอนและสอนเข้าใจแจ่มแจ้ง
2.ความเข้าใจและเป็นกันเอง
3.ความรับผิดชอบ
4.มีความยุติธรรม
5.ความเมตตา
6.ร่าเริง แจ่มใส สุภาพ
7.มีวิธีสอนแปลก ๆ
8.มีอารมณ์ขัน
9.เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่

ความบกพร่องของครู จากมากไปหาน้อย มี ดังนี้

ชาย
1.ความประพฤติไม่เรียบร้อย
2.มัวเมาในอบายมุข
3.การแต่งกายไม่สุภาพ
4.การพูดจาไม่สุภาพ
5.ไม่รับผิดชอบการงาน

หญิง
1.การแต่งกายไม่สุภาพ
2.ความเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ประพฤติไม่เรียบร้อย
4.ไม่รับผิดชอบการงาน
5.ชอบนินทา
6.จู่จี้ขี้บ่น
7.วางตัวไม่เหมาะสม
8.คุยมากเกินไป

หน้าที่ของครูที่จำเป็นมากที่สุด คือ
1.สอนและอบรม
2.การเตรียมการสอน
3.หน้าที่ธุรการ เช่น ทำบัญชีเรียกชื่อและสมุดประจำวันชั้น
4.การแนะแนว
5.การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
6.ดูแลอาคารสถานที่
7.ทำความเข้าใจเด็ก

ลักษณะของครูที่ดี เรียงตามลำดับ คือ
1.ความประพฤติเรียบร้อย
2.ความรู้ดี
3.บุคลิกการแต่งกายดี
4.สอนดี
5.ตรงเวลา
6.มีความยุติธรรม
7.หาความรู้อยู่เสมอ
8.ร่าเริง แจ่มใส
9.ซื่อสัตย์
10.เสียสละ

จำเนียร น้อยท่าช้าง ยังได้ทำการวิจัยเรื่องครูดีในทัศนะของเด็ก โดยเลือกสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 5 ทุกจังหวัด เป็นจำนวน 2,418 คน ชาย 1,203 หญิง 1,215 คน สรุปได้ดังนี้

เกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไปของครู
1.ครูจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้
2.อายุที่เหมาะสมของครูควรอยู่ในระหว่าง 31–40 ปี
3.สถานภาพสมรสของครูจะเป็นอย่างไรก็ได้
4.ครูที่สอนในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นครูที่มีวุฒิในระดับปริญญาตรี
5.ครูควรมีความสามารถในการสอน โดยสามารถสอนได้ทั่วไป และมี ความสามารถพิเศษเฉพาะรายวิชา
6.ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น วิทยาศาสตร์ ปรากฎว่านักเรียนต้องการเรียน กับครูที่จบวิทยาศาสตร์เป็นวิชาเอกและจบวิชาครูมาด้วย

เกี่ยวกับบุคลิกภาพลักษณะของครู
1.ครูควรมีความสงบเสงี่ยม ต้องระมัดระวังในการวางตัวเสมอ
2.ครูควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่แต่งกายนำสมัย และใช้เครื่องสำอางแต่ พอประมาณ
3.พูดจาไพเราะนุ่มนวลอยู่เสมอ
4.ครูควรพูดเสียงดัง
5.มีอารมณ์เย็น
6.เป็นกันเองกับเด็กนักเรียนและมีอารมณ์ขันบ้าง
7.มีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางด้านจิตใจและก็ทางด้านร่างกาย
8.มีลักษณะเป็นผู้นำและเป็นผู้ที่พึ่งพิงได้

เกี่ยวกับทางด้านวิชาการของครู
1.ควรศึกษาและเพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอในทุกด้าน
2.ควรมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์
3.เคยเรียนวิธีสอนและผ่านการฝึกสอนมาก่อน
4.ควรมีวิชาความรู้วิชาวัดผล
5.ควรมีความรู้ในวิชาจิตวิทยา

การสอนและการปกครองของครู
1.ชอบครูที่ใช้อุปกรณ์การสอนช่วยในการสอน
2.ไม่ชอบครูที่มีความชำนาญแต่ไม่เตรียมการสอน
3.ชอบครูที่ให้งานและตรวจงานเสร็จเสมอ
4.ต้องการให้ครูสอนซ่อมนอกเวลาเรียน
5.ต้องการให้ครูมีกิจกรรมประกอบการสอนในบางโอกาส
6.ต้องการให้ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองบ้าง
7.ไม่ชอบครูที่เอาเวลาสอนไปทำงานอื่น
8.ชอบให้ครูยึดระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ โดยเคร่งครัด ถึงจะมีการลงโทษก็ ยินดี
9.การลงโทษไม่ต้องการให้ครูเฆี่ยนตี
10.นักเรียนต้องการเรียนดีถึงแม้ว่าความประพฤติจะด้อยไปบ้าง

ความประพฤติของครู
1.ไม่เห็นด้วยกับการที่ครูจะไปเที่ยวพักผ่อนในสถานเริงรมย์ต่าง ๆ
2.ไม่อยากให้ครูดื่มสุรา เล่นการพนัน ไม่ว่าจะเป็นที่สโมสรข้าราชการหรือสถาบัน ที่ทั่ว ๆ ไป
3.ครูควรประพฤติตัวดีกว่าข้าราชการอาชีพอื่น ๆ เช่น หมอ หมายความว่า ตำรวจ ทหาร และข้าราชการปกครอง
4.ครูควรประพฤติตัวเรียบร้อย แต่ไม่ถึงกับจะเหมือนผ้าพับไว้
5.ครูควรรู้วัฒนธรรม แต่ไม่ต้องเคร่งครัดมากนัก
6.ครูควรเป็นกันเองกับเด็ก

มนุษย์สัมพันธ์ของครู
1.สามารถแนะนำให้เด็กได้ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเรียน
2.ไม่เห็นด้วยที่ครูแสดงตัวเป็นกันเองกับเด็กโดยการพูดจาแบบนักเลง ๆ
3.ชอบครูที่มีความยุติธรรมและเป็นคนใจดี
4.ไม่ชอบที่ครูจะเข้ากับผู้ปกครองโดยวิธีการร่วมดื่มสุราหรือเล่นการพนัน
5.ครูควรร่วมมือพัฒนาชุมชน เพื่อจะเข้ากับชุมชนได้
6.ครูควรเชิญผู้ปกครองมาร่วมปรึกษาหารือในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนด้วย

ครูเป็นผู้ให้กำเนิดพลเมืองที่ดี คือ ชุบพลเมืองให้เป็นนักรู้ นักทำงาน นักพูด นักเขียน นักตำรา นักประดิษฐ์ นักค้นคว้าเหตุผล นักปราชญ์ ฯลฯ เป็นต้น.
...........................................................................................................
บรรณานุกรม
สงัด อุทรานันท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. 2522.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2529.
อุรวดี รุจิเกียรติติจร. ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. ขอนแก่น. ขอนแก่นการพิมพ์. 2535.
otpchelp. 2556. ภาพอนาคตการศึกษาไทย (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.otpchelp.com/2-formalityeducation.php. 22 มกราคม 2558, 
https://educ105.wordpress.com/เนื้อหา-ปรัชญาและคุณธรรม/


Share on Google Plus

About Neungzsogood

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น