จิตวิทยาสำหรับครู

จิตวิทยาสำหรับครู

            จิตวิทยา (อังกฤษpsychologyคือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) ,กระบวนความคิดและพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์บุคลิกภาพพฤติกรรมและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว,ระบบการศึกษาการจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม

จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้

    จิตวิทยาสําหรับครู  เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียน  ในอันที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปสู่แนวทางอันพึงประสงค์ได้  โดยผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจ  ดังนี้

ความพร้อมของผู้เรียน 

   1.  ความพร้อมทางด้านร่างกาย  ซึ่งหมายถึงความพร้อมอันเกิดจากความเป็นปกติทางร่างกาย เช่น ไม่อดนอน ไม่หิวโหย ไม่เจ็บป่วย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เป็นต้น
   2. ความพร้อมทางด้านจิตใจและด้านอารมณ์ เรื่องนี้ครู อาจารย์มีความเกี่ยวข้องมากขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นความรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาอยู่เหมือนเดิม  ส่วนที่เกิดมากจากนิสิตนักศึกษาเอง

  3. ความพร้อมทางด้านสติปัญญา หมายถึงการมีพื้นฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะเรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ทางวิชาการ

หลักการสําคัญของการเรียนรู้
   1.ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active Participation)
   2.ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู้รูปที่ซับซ้อน (Gradual approximation)
   3.ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป  (Immediate feedback)
   4. การเสริมแรงหรือให้กําลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)

ความสำคัญของจิตวิทยาสำหรับครู
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน วันทนียตระกูล
            จะเห็นว่าการเป็นครูที่ดีนั้นจะต้องเป็นด้วยจิตวิญาณมีความเข้าใจหลักการสอนกระบวนการสอนตามหลักวิชาการแล้วยังไม่พอครูจะต้องรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเพราะครูทุกคนมีวิถีชีวิตอยู่กับคนแทบจะตลอดเวลาจึงจำเป็นจะต้องรู้ชีวิตจิตใจของมนุษย์ว่าเขาเหล่านั้นมีความต้องการอะไร ดังมีกล่าวว่าคนเป็นครูจะต้องรู้จิตวิทยาเพราะว่าจิตวิทยาช่วยครูได้ดังที่สุรางค์  โค้วตระกูล. 2544  กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
             1. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอนโดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์  สังคม  และบุคลิกภาพเป็นส่วนรวม
      2. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน เช่น อัตมโนทัศน์ (Self concept) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร  และเรียนรู้ถึงบทบาทของครูในการที่จะช่วยนักเรียนให้มี อัตมโนทัศน์ ที่ดีและถูกต้องได้อย่างไร
            3. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล  เพื่อจะได้ช่วยนักเรียนเป็นรายบุคคลให้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
            4. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย และขั้นพัฒนาการของนักเรียน  เพื่อจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจและอยากจะเรียนรู้
             5. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  เช่น แรงจูงใจ อัตมโนทัศน์  และการตั้งความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียน

ประโยชน์ของจิตวิทยาสำหรับครู

        1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
        2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
        3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
        4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
        5.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
        6.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
        7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี

ขอบข่ายของจิตวิทยาสำหรับครู


            1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตวิทยาสาขาอื่นต่อไป

            2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

            3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน

            4.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง

            5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ

            6.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้

            7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น

            8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน

            9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา

            10.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต

แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์


1. ทฤษฎีการเรียนรู้
            ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s Classical Connectionism) ธอร์นไดค์(ค.ศ.1814-1949) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูก(trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ
        2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ(Classical conditioning)ของพาฟลอฟ พาฟลอฟ(Pavlov)ได้ทำการทดลองให้สุนัขนํ้าลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง การเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดและพฤติกรรมนํ้าลายไหล
        ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน(Watson) วัตสัน(Watson)ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กก็จะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดูโดยแม่จะกอดเด็กไว้จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆหายกลัวหนูขาว
        ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง(Contiguous Conditioning)ของกัทธรีกัทธรีได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา มีเสาเล็กๆตรงกลาง มีกระจกที่ประตูทางออก มีปลาแซลมอนวางไว้นอกกล่อง เสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตู แมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบเพื่อจะออกจากกล่อง แมวบางตัวใช้วิธีเดียว
        ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์(Operant Conditioning)ของสกินเนอร์(Skinner)สกินเนอร์(Skinner)ได้ทำการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กล่อง ภายในมีคานบังคับให้อาหารตกลงไปในกล่องได้ ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่ เมื่อชนคานจะมีอาหารตกมาให้กิน ทำหลายๆครั้งพบว่า หนูจะกดคานทำให้อาหารตกลงไปได้เร็วขึ้น
        3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory)
         ฮัลล์(Hull)ได้ทำการทดลองโดยฝึกหนูให้กดคาน โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่มๆแต่ละกลุ่มอดอาหาร 24 ชั่วโมงและแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน ครั้ง จึงได้อาหารไปจนถึงกลุ่มที่กด 90 ครั้ง จึงได้อาหารและอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกัน แต่อดอาหารเพียง ชั่วโมง ผลปรากฏว่า ยิ่งอดอาหารมาก คือ มีแรงขับมาก จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสัย กล่าวคือ จะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส receptor)กับอวัยวะแสดงออก(effector)เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมากจึงมีพฤติกรรมกดคานเร็วขึ้น สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้มีทฤษฎีที่สำคัญอยู่ กลุ่มคือ - ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s Classical Connectionism) - ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory) - ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory)


        4.กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
          กลุ่มจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของจิตไร้สำนึก”(uncoscious mind)ว่า มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่ม พลังที่หนึ่ง”(The first force)ที่แหวกวงล้อมจากจิตวิทยายุคเดิม นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ฟรอยด์(Sigmund Freud,1856-1939)และส่วนใหญ่แนวคิดในกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้เป็นของฟรอยด์ซึ่งเป็นจิตแพทย์ ชาวออสเตรีย เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนาPsychosexualโดยเชื่อว่าเพศหรือกามารมณ์(sex)เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์ แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการสนใจศึกษาและสังเกตผู้ป่วยโรคประสาท ด้วยการให้ผู้ป่วยนอนบนเก้าอี้นอนในอิริยาบถที่สบายที่สุด จากนั้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องราวของตนเองไปเรื่อยๆ ผู้รักษาจะนั่งอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วย คอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้พูดเล่าต่อไปเรื่อยๆเท่าที่จำได้ และคอยบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าอย่างละเอียด โดยไม่มีการขัดจังหวะ แสดงความคิดเห็น หรือตำหนิผู้ป่วย ซึ่งพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้รักษาได้ข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย และจากการรักษาด้วยวิธีนี้เอง จึงทำให้ฟรอยด์เป็นคนแรกที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เขาอธิบายว่า จิตของคนเรามี ส่วน คือ จิตสำนึก(conscious mind)จิตกึ่งรู้สำนึก(preconscious mind)และจิตไร้สำนึก (unconscious mind)ซึ่งมีลักษณะดังนี้ เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนมากกำหนดขึ้นโดยสัญชาตญาณ ซึ่งมีมาตั้งแต่กำเนิด สัญชาตญาณเหล่านี้ส่วนมากจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก เขาเชื่อว่าการทำงานของจิตแบ่งเป็น ระดับ เปรียบเสมือนก้อนนํ้าแข็งลอยอยู่ในทะเล คือ
        1.จิตรู้สำนึก(Conscious mind)เป็นส่วนที่โผล่ผิวนํ้าขึ้นมา ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไปตามหลักเหตุและผล แสดงตามแรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง(principle of reality)
        2.จิตกึ่งรู้สำนึก(Preconscious mind)เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ๆผิวนํ้า เป็นจิตที่เก็บสะสมข้อมูลประสบการณ์ไว้มากมาย มิได้รู้ตัวในขณะนั้นแต่พร้อมให้ดึงออกมาใช้ พร้อมเข้ามา อยู่ในระดับจิตสำนึก เช่น เดินสวนกับคนรู้จัก เดินผ่านเลยมาแล้วนึกขึ้นได้รีบกลับไปทักทายใหม่ เป็นต้น และอาจถือได้ว่าประสบการณ์ต่างๆที่เก็บไว้ในรูปของความจำก็เป็นส่วนของจิตกึ่งรู้สำนึกด้วย เช่น ความขมขื่นในอดีต ถ้าไม่คิดถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้านั่งทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เศร้าได้ทุกครั้ง เป็นต้น
        3.จิตไร้สำนึก(Unconscious mind)เป็นส่วนใหญ่ของก้อนนํ้าแข็งที่อยู่ใต้นํ้า ฟรอยด์เชื่อว่า จิตส่วนนี้มีอิทธิพลมากต่อพฤติกรรมของมนุษย์ กระบวนการจิตไร้สำนึกนี้ หมายถึง ความคิด ความกลัว และความปรารถนาของมนุษย์ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของเก็บกดไว้โดยไม่รู้ตัวแต่มี
อิทธิพลต่อเขา พลังของจิตไร้สำนึกอาจจะปรากฏขึ้นในรูปของความฝัน การพลั้งปากหรือการแสดงออกมาเป็นกิริยาอาการที่บุคคลทำโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น
        ฟรอยด์ เชื่อว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ
            1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต(eros = life instinct) 
            2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย(thanatos = death instinct)

        โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure) ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลมี ประการ คือ
            1.ตนเบื้องต้น(id) คือ ตนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มุ่งแสวงหา ความพึงพอใจ(pleasure seeking principles)และเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความถูกต้อง และความเหมาะสม ประกอบด้วย ความต้องการทางเพศและความก้าวร้าว เป็นโครงสร้างเบื้องต้นของจิตใจ และเป็นพลังผลักดันให้ ego ทำในสิ่งต่างๆ ตามที่ id ต้องการ
            2.ตนปัจจุบัน(ego)คือ พลังแห่งการใช้หลักของเหตุและผลตามความเป็นจริง(reality principle)เป็นส่วนของความคิดและสติปัญญา ตนปัจจุบัน จะอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง ระดับ
            3.ตนในคุณธรรม(superego)คือ ส่วนที่ควบคุมการแสดงออกของบุคคลในด้านคุณธรรม ความดี ความชั่ว ความถูกผิด มโนธรรม และจริยธรรมที่สร้างโดยจิตใต้สำนึกของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ตนในคุณธรรมจะทำงานอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง ระดับ
            การทำงานของตนทั้ง ประการ จะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้ นอกจากนี้ฟรอยด์ใช้วิธีการวิเคราะห์ความฝันของผู้มีปัญหา เขาเชื่อว่า ความฝันมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ได้ประสบมาในชีวิตจริงปัญหาต่างๆที่แก้ไม่ได้อาจจะไปแสดงออกในความฝัน เพื่อเป็นการระบายออกของพฤติกรรมอีกทางหนึ่ง


            5.กลุ่มเกสตัลท์(Gestalt Psychology)
               นักจิตวิทยาคนสำคัญกลุ่มนี้ได้แก่ Max Werthimer,Kurt Koffka และWolfgang Kohlerทั้งหมดเป็นชาวเยอรมันเชื้อสายยิว กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นเพียงหน่วยรับสิ่งเร้าที่อยู่นิ่งเฉยเท่านั้น แต่จิตมีการสร้างกระบวนการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาและส่งผลออกไปเป็นข้อมูลใหม่หรือสารสนเทศชนิดใหม่นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มนี้เน้นอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน เพราะคนเราจะรับรู้สิ่งต่างๆในลักษณะรวมๆได้ดีกว่ารับรู้ส่วนปลีกย่อย กลุ่มนี้เห็นว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เมื่อมีการรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน มนุษย์จะรับในสิ่งที่ตนเองสนใจเท่านั้น สิ่งใดที่สนใจรับรู้จะเป็นภาพ สิ่งใดที่ไม่ได้สนใจรับรู้จะเป็นพื้น ดังเช่น รูปภาพข้างบนถ้าสนใจมองที่สีขาว เราจะมองเห็นเป็นแก้ว แต่ถ้าเราสนใจมองสีดำเราจะเห็นเป็น รูปคนสองคนกำลังหันหน้าเข้าหากัน
คำว่า เกสตัลท์(Gestalt)เป็นภาษาเยอรมัน ความหมายเดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง (Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบัน แปลว่า ส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด(Gestalt =The wholeness)
            กลุ่มเกสตัลท์ มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่าง มารวมกัน เริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป ต่อมาเลวิน ได้นำเอาทฤษฎีเกสตัลท์มาปรับปรุงเป็นทฤษฎีสนาม(Field theory โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มาอธิบายทฤษฎีของเขาแต่ก็ยังคงใช้หลักการเดียวกัน นั่นคือการเรียนรู้ของบุคคลจะเป็นไปได้ด้วยดีและสร้างสรรค์ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียนเสียก่อน เมื่อเกิดภาพรวมทั้งหมดแล้วก็เป็นการง่ายที่บุคคลนั้นจะเรียนสิ่งที่ละเอียดปลีกย่อยต่อไป ปัจจุบันได้มีผู้นำเอาวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวางโดยเหตุที่เขา เชื่อในผลการศึกษาค้นคว้าที่พบว่า ถ้าให้เยาวชนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้วเขาเหล่านั้นจะมีสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และความรวดเร็วในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

            หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
                กลุ่มเกสตัลท์ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้น จะต้องเกิดจากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น ลักษณะ คือ
                1.การรับรู้(Perception)การรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของอวัยวะรับสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง การตีความนี้ มักอาศัยประสบการณ์เดิม ดังนั้นแต่ละคนอาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น นางสาว ก. เห็นสีแดงแล้วนึกถึงเลือด แต่นางสาว ข.เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้
                2.การหยั่งเห็น(Insight) การหยั่งเห็น หมายถึง การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยจะเกิดแนวความคิดในการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาขึ้นอย่างฉับพลันทันทีทันใด(เกิดความคิดแวบขึ้นมาในสมองทันที)มองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นเป็นขั้นตอนจนถึงจุดสุดท้ายที่สามารถจะแก้ปัญหาได้ เช่น การร้องออกมาว่ายูเรก้าของอาร์คีเมดิสเพราะเกิดการหยั่งเห็น(Insight)ในการแก้ปัญหาการหาปริมาตรของมงกุฎทองคำด้วยวิธีการแทนที่นํ้า ว่าปริมาตรของมงกุฎที่จมอยู่ในนํ้าจะเท่ากับปริมาตรของนํ้าที่ล้นออกมา แล้วใช้วิธีการนี้หาปริมาตรของวัตถุที่มีรูปทรงไม่เป็นเรขาคณิตมาจนถึงบัดนี้
            การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ที่เน้น การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของทั้งกลุ่ม กฎ เรียกว่า กฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน(The Laws of Organization) ดังนี้
                1.กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน(Law of Pregnant)
                2.กฎแห่งความคล้ายคลึง(Law of Similarity)
                3.กฎแห่งความใกล้ชิด(Law of Proximity)
                4.กฎแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)
             โดยกำหนดFigureและBackground แต่ในที่นี้ขอเสนอพอสังเขป ดังนี้
            แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ การพิจารณาพฤติกรรมหรือประสบการณ์ของคนเป็นส่วนรวม ซึ่งส่วนรวมนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยต่างๆ มารวมกัน เช่น คนนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยต่างๆมารวมตัวกันเป็นคน ได้แก่ แขน ขา ลำตัว สมองฯลฯ
จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์นิยม จึงหมายถึง จิตวิทยาที่ยึดถือเอาส่วนรวมทั้งหมดเป็นสำคัญ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังมีความเห็นอีกว่า การศึกษาทางจิตวิทยานั้นจะต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาที่ละส่วนไม่ได้ กลุ่มGESTALISM เห็นว่าวิธีการของ BEHAVIORISM ที่พยายามจะแยกพฤติกรรมออกมาเป็นหน่วยย่อย เช่น เป็นสิ่งเร้าและการตอบสนองนั้นเป็นวิธีการไม่ใช่เรื่องของจิตวิทยา น่าจะเป็นเรื่องของเคมีหรือศาสตร์บริสุทธิ์แขนงอื่นๆ ดังนั้นกลุ่ม GESTALISM จึงไม่พยายามแยกพฤติกรรมออกเป็นส่วนๆ แล้วศึกษารายละเอียดของแต่ละส่วนเหมือนกลุ่มอื่นๆ แต่ตรงกันข้ามจะพิจารณาพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ทุกๆอย่างเป็นส่วนรวม เน้นในเรื่องส่วนรวม(WHOLE)มากกว่าส่วนย่อย เพ่งเล็งถึงส่วนทั้งหมดในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(UNIQUE)


            6.กลุ่มมนุษยนิยม(Humanistic Perspective)
แนวคิดกลุ่มมนุษย์นิยม(The Humanistic Perspective) เชื่อว่า มนุษย์มีอิสระทางความคิดที่สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมได้ การแสดงพฤติกรรมใดๆ จึงเป็นทางเลือกของบุคคล ซึ่งทุกคนมีศักยภาพในการเจริญงอกงาม หรือพัฒนา นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้แก่ มาสโลว์(Abraham Maslow)และคาร์ล โรเจอส์(Carl Rogers)
            มาสโลว์(Maslow) กล่าวถึง ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการไว้ ขั้นตอน ดังนี้
            1.ความต้องการทางกายภาพ(Physiological Needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร อากาศ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ความต้องการพักผ่อน และความต้องการทางเพศ เป็นต้น
            2.ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย(Safety Needs and Needs for Security) ถ้าต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต ต้องการความเป็นธรรมในการทำงาน ความปลอดภัยในเงินเดือนและการถูกไล่ออก สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย และการรักษาพยาบาล รวมทั้งความเชื่อในศาสนาและเชื่อมั่นในปรัชญา ซึ่งจะช่วยให้บุคคลอยู่ในโลกของความเชื่อของตนเองและรู้สึกมีความปลอดภัย
            3.ความต้องการมีส่วนร่วมในสังคม(Social Belonging Needs)เมื่อความต้องการทางด้านร่างกา และความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการทางด้านสังคมก็จะเริ่มเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญต่อพฤติกรรมของบุคคล เป็นความต้องการที่จะให้สังคมยอมรับตนเป็น
สมาชิก ต้องการได้รับการยอมรับจากคนอื่นๆ ได้รับความเป็นมิตรและความรักจากเพื่อนร่วมงาน
            4.ความต้องการยกย่องนับถือ(Esteem Needs) ความต้องการด้านนี้ เป็นความต้องการระดับสูงที่เกี่ยวกับความอยากเด่นในสังคม ต้องการให้บุคคลอื่นยกย่องสรรเสริญ รวมถึงความเชื่อมั่นในตนเองในเรื่องความรู้ความสามารถ ความเป็นอิสระ และเสรีภาพ
            5.ความต้องการบรรลุในสิ่งที่ตั้งใจ(Need for Self Actualization) เป็นความต้องการระดับสูงสุด ซึ่งเป็นความต้องการที่อยากจะให้เกิดความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิดของตนเอง เป็นความต้องการที่ยากแก่การได้มา
            1.)มนุษย์ทุกคนมีความต้องการ ความต้องการที่มนุษย์นี้จะอยู่ในตัวมนุษย์ตลอดไป ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อสนใจในความต้องการหนึ่งแล้ว ก็ยังต้องการในระดับที่สูงขึ้น
            2.)อิทธิพลใดๆ ที่จะมีผลต่อความต้องการของมนุษย์อยู่ในความต้องการลำดับขั้นนั้นๆ เท่านั้น หากความต้องการลำดับขั้นนั้นได้รับการสนองให้พอใจแล้วความต้องการนั้นก็จะหมดอิทธิพลไป
            3)ความต้องการของมนุษย์จะมีลำดับขั้นจากตํ่าไปหาสูง เมื่อความต้องการขั้นตํ่าได้รับการตอบสนองเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการลำดับสูงขึ้นไปก็ตามมา
            คาร์ล โรเจอร์ส(CarlRogers)มีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญมาก โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด โรเจอร์สตั้งทฤษฏีขึ้นมาจากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกของเขา และได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพเป็นอย่างมาก ทฤษฏีของโรเจอร์เน้นถึงเกียรติของบุคคล ซึ่งบุคคลมีความสามารถที่จะทำการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหยื่อ ในขณะที่มีประสบการณ์ในสมัยที่เป็นเด็กหรือจากแรงขับของจิตใต้สำนึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมีแนวทางเฉพาะของบุคคล กล่าวได้ว่า เป็นการรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญมาก โรเจอร์เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีตัวตน แบบ
            1.ตนที่ตนมองเห็น(Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ตํ่าต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
            2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น
            3.ตนตามอุดมคติ(Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มี ไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัวแต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น
            ถ้าตัวตนทั้ง ลักษณะ ค่อนข้างตรงกันมากจะทำให้มีบุคลิกภาพมั่นคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง จะมีความสับสนและอ่อนแอด้านบุคลิกภาพ
โรเจอร์ วางหลักไว้ว่า บุคคลถูกกระตุ้นโดยความต้องการสำหรับการยอมรับนับถือทางบวก นั่นคือความต้องการความรัก การยอมรับและความมีคุณค่า บุคคลเกิดมาพร้อมกับความต้องการ การยอมรับนับถือในทางบวก และจะได้รับการยอมรับนับถือโดยอาศัยการศึกษาจากการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของบุคคลอื่น
            ทฤษฏีของโรเจอร์ กล่าวว่า ตนเอง”(Self) คือ การรวมกันของรูปแบบ ค่านิยม เจตคติ การรับรู้ และความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่า เป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเอง หมายถึง ฉัน และตัวฉันเป็นศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเอง สำหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ และมีการปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่การสังเกตและการรับรู้ เป็นเรื่องของตนเองที่ปรับให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เช่น พนักงานบางคนมีการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานและการเป็นผู้นำ
             7.กลุ่มปัญญานิยม(Cognitive Psychology)
                ผู้นำกลุ่มคนสำคัญ คือ เพียเจต์ บรูเนอร์ และวายเนอร์ หลังปีค.ศ.1960 กลุ่มแนวคิดปัญญานิยมได้รับความสนใจอย่างมาก
แนวคิดกลุ่มปัญญานิยม สนใจศึกษาเรื่องกระบวนการทางจิต ซึ่งเป็น พฤติกรรมภายในที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ได้แก่ การรับรู้ การจำ การคิด และความเข้าใจ เช่น ขณะที่เราอ่านหนังสือ เราจะทราบความสำคัญของข้อความ คำต่างๆ เนื้อหาของเรื่องมากกว่าการรับรู้ตัวอักษร
นักวิจัยในกลุ่มปัญญานิยมสนใจศึกษากระบวนการทางจิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มองไม่เห็นภายในตัวบุคคลด้วยวิธีการวัดแบบวิทยาศาสตร์ แนวความคิดของกลุ่มนี้เชื่อว่า มนุษย์จะเป็นผู้กระทำต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าทำตามสิ่งแวดล้อม เพราะจากความรู้ ความเชื่อ และความมีปัญญาของมนุษย์ จะทำให้มนุษย์สามารถจัดการกับข้อมูลข่าวสารที่เข้ามาในสมองมนุษย์ได้ เช่น ยูริค ไนเซอร์(Ulric Neisser) กล่าวว่า บุคคลต้องแปลผลสิ่งที่รับรู้มาเพื่อให้เข้าใจโลกรอบตัวของเขาได้ ดังนั้นเป้าหมายของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ สามารถระบุเจาะจงได้ว่า กระบวนการของจิตเกี่ยวข้องกับการแปลความหมายสิ่งที่บุคคลรับเข้ามา แล้วส่งต่อให้หน่วยรับข้อมูล เพื่อแปลผลอีกครั้งหนึ่งว่า มีกลไกอย่างไรบ้างที่ช่วยจัดระบบระเบียบการจำและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้พบเห็นได้ด้วยวิธีใด การทำงานของระบบความจำ และการใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหา
วิธีการศึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม จะเน้นวิธีการทดลองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การทดลองให้ผู้รับการทดลองตั้งเทียนไขให้ขนานกับแนวฝาผนังโดยไม่มีอุปกรณ์ให้ ผู้รับการทดลองต้องใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ ซึ่งมักจะประสบความยุ่งยากในการแก้ปัญหา และต้องคิดค้นวิธีการใหม่ๆจากการใช้อุปกรณ์ที่มี จากการทดลองนี้วิธีคิดแบบเก่าๆ จะมีผลสกัดกั้นความคิดใหม่ๆได้ เพราะฉะนั้นบุคคลจะมีวิธีการเอาชนะวิธีคิดที่ตนเองคุ้นเคยได้อย่างไร และบุคคลจะสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างไร
Share on Google Plus

About Neungzsogood

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น